ไขมันในอาหารกับการไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน (insulin resistance) ของ ไขมันไม่อิ่มตัว

ความชุกของการไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน (insulin resistance) จะลดลงถ้าทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่เดี่ยว (MUFA) โดยเฉพาะกรดโอเลอิก/omega-9 มากกว่า แต่จะมากขึ้นเมื่อทานอาหารมีไขมันมีพันธะคู่หลายคู่ (PUFA) โดยเฉพาะ arachidonic acid/omega-6 และไขมันอิ่มตัว เช่น arachidic acid มากกว่าความสัมพันธ์กับอาหารเช่นนี้สมมุติว่า รองจากความสัมพันธ์กับการอักเสบ (inflammation) ซึ่งสามารถควบคุมได้เป็นบางส่วนโดยลดเพิ่มการทานกรดไขมันโอเมกา-3/6/9 โอเมกา-3 และ 9 เชื่อว่า ต้านการอักเสบ และโอเมกา-6 สนับสนุนการอักเสบ แต่ก็มีปัจจัยอื่น ๆ อีกด้วย เช่น การทาน polyphenol และการออกกำลังกายจะช่วยต้านการอักเสบแม้ไขมันทั้งแบบสนับสนุนและต้านการอักเสบอาจจำเป็นต่อร่างกาย แต่อาหารอเมริกันโดยมากมีโอเมกา-6 มาก ซึ่งเพิ่มการอักเสบและเพิ่มการไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน[7]อย่างไรก็ดี มีงานศึกษาต่อจากนั้นซึ่งแสดงนัยตรงกันข้าม คือพบว่า ไขมันมีพันธะคู่หลายคู่ช่วยป้องกันการไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน

ใกล้เคียง

ไขมัน ไขมันอิ่มตัวกับโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด ไขมันไม่อิ่มตัว ไขมันทรานส์ ไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ ไขมันพืช ไขมันเนย ไขมันไม่อิ่มตัวที่มีพันธะคู่เดี่ยว ไขมันอิ่มตัว ไขมันหมู

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไขมันไม่อิ่มตัว http://nutritiondata.com/facts/fats-and-oils/572/2 http://www.nutritiondata.com/facts/dairy-and-egg-p... http://nutritiondata.self.com/facts/fats-and-oils/... http://nutritiondata.self.com/facts/fats-and-oils/... http://nuinfo-proto4.northwestern.edu/nutrition/fa... http://www.uccs.edu/Documents/danderso/fats_oils.p... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1270002 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10342226 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12796449 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15531663